ขั้นที่ 2 รวบรวมข้อมูลและแนวคิดที่เกี่ยวข้อง (Related information Search)
เมื่อเราระบุปัญหา หรือความต้องการแล้ว ขั้นต่อไปคือ การรวบรวมข้อมูล และแนวคิดที่เกี่ยวข้อง เป็นการ ควบรวมข้อมูลที่จําเป็น เป็นประโยชน์ หรือข้อมูลที่สนใจ โดยเป็นข้อมูลที่ประกอบด้วยแนวคิดทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับแนวทางการแก้ปัญหาและการประเมินความเป็นไปได้ ข้อดีและข้อจํากัด ในการค้นหาแนวคิด เพื่อนําข้อมูลมาใช้ในการวางแผนการแก้ไขปัญหา หรือตอบสนองตามต้องการ ซึ่งการรวบรวม ข้อมูลทําได้ 2 วิธี ดังนี้
1. การรวบรวมข้อมูลขั้นปฐมภูมิ
คือ การที่รวบรวมข้อมูล ได้จากเจ้าของข้อมูลโดยตรง จากการสัมภาษณ์ การสังเกต เช่น แบบสอบถาม เป็นต้น
2. การรวบรวมข้อมูลขั้นทุติยภูมิ
คือ การรวบรวมข้อมูลได้ จากแหล่งข้อมูลที่ได้รวบรวมไว้แล้ว เช่น ข้อมูลจากบันทึกหนังสือ รายงานต่าง ๆ เป็นต้น

การเก็บรวบรวมข้อมูล วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล อาจแบ่งเป็นวิธีการใหญ่ ๆ ได้ 3 วิธี คือ
1. การสังเกตการณ์ (Observation) ทั้งการสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วม และการสังเกตการณ์แบบไม่มีส่วนร่วม หรืออาจจะแบ่งเป็น การสังเกตการณ์แบบมีโครงสร้าง และการสังเกตการณ์แบบไม่มีโครงสร้าง
2. การสัมภาษณ์ (Interview) นิยมมากในทางสังคมศาสตร์ โดยเฉพาะการสัมภาษณ์โดยใช้แบบสอบถาม อาจจะจําแนกเป็นการสัมภาษณ์เป็นรายบุคคล และการสัมภาษณ์เป็นกลุ่ม
3. การรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร เช่น หนังสือ รายงานวิจัย วิทยานิพนธ์ บทความ สิ่งพิมพ์ต่าง ๆ เป็นต้น การค้นคว้าหรือหาคําอธิบายในสิ่งที่ได้แยกแยะมาแล้วแต่ยังไม่มีความชัดเจน ทําได้โดยการค้นคว้า ข้อมูลที่ เกี่ยวข้อง ในสภาพแวดล้อมที่เหมือนกันหรือคล้ายกันกับปัญหาว่ามีการศึกษา หรือแก้ไขมาบ้างหรือไม่ ทําอย่างไร และได้ผลอย่างไร ค้นคว้าจากแหล่งเรียนรู้ใด ด้วยวิธีการใด ซึ่งในการรวบรวมข้อมูลและแนวคิดที่เกี่ยวข้อง บางครั้ง อาจจําเป็นต้องเชิญผู้รู้หรือผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกมาสัมภาษณ์ หรือไปศึกษาเรียนรู้นอกสถานที่



ตัวอย่าง ประเด็นที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลเพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาเรื่องปริมาณขยะมูลฝอยที่มากขึ้นในประเทศไทย
1. วิธีคัดแยกขยะให้ถูกกวิธี
2. แนวคิดในการจัดการขยะของประเทศไทย
3. แนวคิดการจัดการขยะด้วย 3R
4. ผลกระทบของขยะต่อสิ่งแวดล้อม
หากปัญหามีความชัดเจนขั้นตอนต่อไปอาจระดมความคิดเพื่อหาทางแก้ไขปัญหา ซึ่งสิ่งสําคัญในการ ความคิด คือ การคิดนอกกรอบอย่างสร้างสรรค์ เพื่อให้เกิดแนวคิดใหม่ ๆ การระดมความคิดที่ดีมีขั้นตอน ดังนี้
ขั้นที่ 1 ตั้งผู้ดำเนินการ หรือผู้อํานวยความสะดวกเพื่อเป็นผู้ประสานงาน กระตุ้นให้เกิดการออกความเห็นอย่างเท่าเทียมกัน
ขั้นที่ 2 กําหนดหัวข้อในการระดมความคิด หัวข้อในการระดมสมองควรเป็นหัวข้อที่เจาะจง ไม่กว้างจนเกินไปเพราะเมื่อจบการระดมสมองอาจจะไม่ได้ข้อสรุป ที่นําไปดําเนินการต่อได้ ตัวอย่างหัวข้อเช่น “ปัญหาที่มักพบในกระบวนการผลิตชิ้นส่วนรถยนต์”
ขั้นที่ 3 ระดมความคิด เพื่อให้ได้ความคิดมากที่สุด ทุกคนต้องได้รับอิสระในการแสดงความคิดเห็น ในขั้นนี้อาจจะต้องกําหนดเป้าหมาย ในการระดมความคิด เช่น กําหนดจํานวนที่ต้องการ 80 -100 ไอเดีย เป็นต้น
ขั้นที่ 4 สรุปผลการระดมความคิด แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่
1. แนวคิดดีพร้อมไปดําเนินการ
2. แนวคิดดีรอการพิจารณา
3. แนวคิดที่ต้องพิจารณา
โดยสมาชิกคนใดคนหนึ่งจะเป็นคนจดบันทึกพร้อมทั้งส่งข้อความที่บันทึกให้กับผู้ที่ร่วมระดมความคิด
ชั้นที่ 5 ประเมินแนวคิด พิจารณาแนวคิดที่ใช้แก้ปัญหาโดยการพิจารณาจุดดี จุดอ่อน และความเหมาะสมกับขอบเขตของปัญหาแล้วจึง เลือกแนวคิดหรือวิธีการที่เหมาะสม เพื่อประเมิน และหาหนทางแก้ปัญหา





วิธีการระดมความคิด มีมากมายหลายรูปแบบ เช่น
1. การสร้าง Mind map หรือ แผนผังความคิด เป็นวิธีการเขียน หรือการบันทึกความคิดเพื่อให้เห็น ภาพของความคิดที่เกิดขึ้นในขณะนั้นซึ่งเป็นมุมมองที่ กว้างและชัดเจน โดยยังไม่จัดระบบความคิดใด ๆ ทั้งสิ้น การเขียนแผนผังความคิดมีลักษณะเหมือนต้นไม้ แตกกิ่งก้านสาขาออกไปเรื่อย ๆ ทําให้สมองได้ทํางานตาม ธรรมชาติและเกิดจินตนาการ
2. การคิดตามทฤษฎีหมวก 6 ใบ หรือ The Six Thinking Hats เป็นระบบการคิดที่ออกแบบโดยเอดเวิร์ด เดอ โบโน (Edward de Bono) ซึ่งเป็นเทคนิคที่ทำให้คิดอย่างมีระบบ มีคุณภาพ และมีการจำแนกความคิดออกกเป็นด้านๆ โดยดึงเอาความรู้และประสบการณ์ของผู้คิดมาใช้ให้เกอดประโยชน์สูงสุดอย่างเหมาะสมกับสถานการณ์ เพื่อช่วยให้การคิดมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งหมวกทั้ง 6 ใบ มีแนวคิดดังนี้

